วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2554

ช่างประปา

งานช่างประปา



น้ำเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์  มีการศึกษาเกี่ยวกับการใช้น้ำปรากฏว่า  คนในชนบทใช้น้ำ  150  ลิตรต่อคนต่อวัน  คนในเมืองใช้น้ำ  440  ลิตรต่อคนต่อวัน  น้ำจึงมีความสำคัญต่อมนุษย์มาก  ระบบการประปาได้แก่  การนำน้ำเข้ามาใช้  การระบายน้ำโสโครกภายในอาคารบ้านเรือนออกไป  เป็นสิ่งจำเป็นและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันมากที่สุด  ระบบประปาที่ดีมีประสิทธิภาพ  จึงหมายถึงความสะดวกสบาย  สุขภาพและพลานามัยของผู้อยู่อาศัย  ดังนั้นความรู้เรื่องระบบน้ำประปา  ระบบการระบายน้ำโสโครก  สุขภัณฑ์  เครื่องมือเครื่องใช้  วัสดุอุปกรณ์  ตลอดจนวิธีการจัดระบบการประปา  การซ่อมบำรุงรักษา  จึงเป็นสิ่งจำเป็น  สามารถศึกษาและปฏิบัติได้ทั้งชายและหญิง

ประเภทและลักษณะของปะปา

                       
หลักการจ่ายน้ำภายในอาคารมี 2 ลักษณะคือ
1) ระบบจ่ายน้ำด้วยความดัน (Pressurized/Upfeed System)
เป็นการจ่ายน้ำโดยอาศัย การอัดแรงดันน้ำ ในระบบ ท่อประปาจากถังอัดความดัน (Air Pressure Tank) ระบบที่ใช้กับ ความสูงไม่จำกัด ทั้งยังไม่ต้องมี ถังเก็บน้ำ ไว้ดาดฟ้าอาคาร

2) ระบบจ่ายน้ำโดยแรงโน้มถ่วง (Gavity Feed/Downfeed System)
เป็นการสูบน้ำขึ้นไปเก็บไว้บนดาดฟ้าแล้ว ปล่อยลงมาตามธรรมชาติ ตามท่อต้องเป็นอาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 10 ชั้น ขึ้นไป ถือเป็น ระบบ ที่ไม่ซับซ้อนไม่ต้องใช้ไฟในการจ่าย แต่จะต้องเตรียมถังเก็บน้ำ ไว้บนดาดฟ้า จึงต้องคำนึงถึง เรื่องโครงสร้างในการ รับน้ำหนัก และความสวยงามด้วย
ในการสำรองน้ำสำหรับการใช้งานนั้นจะต้องมีการใช้ถังเก็บน้ำแบบต่าง ๆ มาประกอบการใช้งาน ถังเก็บน้ำที่มีใช้กันอยู่โดยทั่วไป ในปัจจุบันนั้นมีหลายแบบให้เลือกใช้ รวมทั้งอาจจะต้องมีเครื่องสูบน้ำติดตั้งอีกด้วย แต่เครื่องสูบน้ำนั้น ห้ามต่อระหว่าง ระบบสาธารณะ กับถังพักน้ำในบ้าน เพราะเป็นการกระทำที่ผิดกฏหมายเนื่องจาก เป็นการสูบน้ำจากระบบสาธารณะ โดยตรงซึ่งเป็นการเอาเปรียบผู้อื่น การสูบน้ำในบ้านจะต้องปล่อยให้น้ำจาก สาธารณะมาเก็บ ในถังพักตาม แรงดันปกติเสียก่อนแล้วค่อยสูบน้ำไปยังจุดที่ต้องการอื่น ๆได้
ตำแหน่งที่ตั้งถังเก็บน้ำที่ใช้งานทั่วไปมีที่ตั้ง 2 แบบคือ
- ถังเก็บน้ำบนดิน ใช้ในกรณีที่มีพื้นที่เพียงพอกับการติดตั้ง อาจติดตั้งบนพื้นดิน หรือบนอาคาร หรือติดตั้งบนหอสูง เพื่อใช้ประโยชน์ ในการใช้แรงดันน้ำ สำหรับแจกจ่ายให้ส่วนต่างๆของอาคาร การดูแลรักษาสามารถทำได้ง่ายแต่อาจดูไม่เรียบร้อยและไม่สวยงามนัก
- ถังเก็บน้ำใต้ดิน ใช้ในกรณีที่ไม่มีพื้นที่ในการติดตั้งเพียงพอและต้องการให้ดูเรียบร้อยสวยงามการบำรุงดูแลรักษาทำได้ยาก ดังนั้นการก่อสร้าง และการเลือก ชนิดของถังต้องมีความละเอียดรอบคอบ

ขั้นตอนการทำงานปะปา


ขั้นตอนที่ 1
            ตำแหน่งท่อประปาหรือก๊อกน้ำและอุปกรณ์ประปาอื่น ๆ จะต้องอยู่ในตำแหน่งที่ไม่จมน้ำโสโครกหรือของเหลวอื่น ๆ เพราะว่าทั้งท่อประปาและก๊อกน้ำเป็นสูญญากาศ หากเกิดการรั่วไหลของท่อจะทำให้สิ่งสกปรกเข้ามาได้

                                                                   
ขั้นตอนที่ 2
            การเชื่อมต่อท่อประปาควรใช้อุปกรณ์หรือท่อที่ต่อเป็นท่อประเภทเดียวกัน เช่นการต่อท่อพีวีซีควรใช้ข้อต่อต่าง ๆ เป็นพีวีซีและควรต่อเข้ากับท่อพีวีซี ซึ่งจะช่วยให้การยึดเกาะของท่อได้แน่นหนา

                                                                      
ขั้นตอนที่ 3
            ถ้าต้องการเดินท่อแบบฝังในผนัง ควรเลือกท่อประปาที่เป็นเหล็กหรือท่อพีวีซีที่มีความหนาเพื่อป้องกันการกดทับของน้ำหนักโครงสร้างทำให้ท่อแตกได้

                                                                       
ขั้นตอนที่ 4
            ท่อประปาที่ต้องวางนอนตามพื้นจะต้องวางในลักษณะที่ไม่ต้องรับน้ำหนักเกินควรและในกรณีที่ท่อลอดผ่านฐานรากจะต้องมีปลอกร้อยท่อขนาดใหญ่กว่าขนาดท่อ.2 เบอร์ เพื่อป้องกันท่อแตกจากโครงสร้างกดทับ
ขั้นตอนที่ 5
            ในตำแหน่งการใช้น้ำภายในห้องต่าง ๆ ควรมีการวางสต๊อปวาล์ว แยกเป็นส่วน ๆ สำหรับในกรณีที่ท่อหรืออุปกรณ์เกิดเสียหายจะไม่จำเป็นต้องปิดประตูน้ำใหญ่ ซึ่งจะทำให้บ้านทั้งหลังน้ำไม่ไหล

การใช้งานอุปกรณ์งานช่างปะปา
                         
                                                               ก๊อกน้ำ
                           
                                                                   ท่อประปา
                 
                                                                   ข้อต่อประปา
                   
                                                                ข้องอประปา
                    
                                                                     สามทางประปา
                      
               นิปเปิ้ล (NIPPLE) มีเกลียวทั้งสองด้าน
                   ข้อต่อสำหรับระบายน้ำ มีอุดเกลียวถอดระบายน้ำได้
                   สามทางวาย เกษตร
                 
                กิ๊บรัดท่อ ก้ามปูจับท่อ
                                           
                                                                      มิเตอร์น้ำ
                          
                                                                   เทปพันเกลียว

ความปลอดภัยในการทำงานช่าง

อุบัติเหตุ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยที่เราไม่คาดคิดมาก่อน สร้างความเสียหายในหลาย ๆด้าน เป็นเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งเราสามารถป้องกันได้ หากเราใช้ความระมัดระวัง ไม่ประมาท และมีมาตรการป้องกันอย่างถูกวิธี

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ สรุปได้ดังนี้
1. เกิดจากตัวบุคคล คือเกิดจากตัวเราเองประมาท สุขภาพร่างกายไม่ดีพร้อมที่จะปฏิบัติงาน หรือไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆดีพอ ฯลฯ
2. เกิดจากเครื่องมือชำรุด เครื่องมือมีสภาพไม่พร้อมที่จะใช้งาน มีคุณภาพต่ำ ฯลฯ
3. เกิดจากระบบการทำงาน อาคารสถานที่ การวางแผนขั้นตอนการปฏิบัติงานไม่ดี พอ หรือแสงสว่างไม่เพียงพอ อากาศไม่ถ่ายเท อุณหภูมิสูงเกินไป ฯลฯ

ผลกระทบจากการเกิดอุบัติเหตุ
1. สร้างความสูญเสียต่อทรัพย์สิน เช่น รถยนต์ชนกัน สร้างความเสียหายคือ รถยนต์พัง หรือสูญเสียทรัพย์สินจ่ายเงินชดเชยค่าเสียหายให้แก่ผู้อื่น
2. ร่างกายได้รับบาดเจ็บ สูญเสียอวัยวะ หรือหากรุนแรงอาจสูญเสียชีวิตในที่สุด
3. สร้างความเสื่อมเสียชื่อเสียง การยอมรับในทางธุรกิจ เช่น บริษัทรถทัวร์ใดมักเกิดอุบัติเหตุบ่อย ๆ ลูกค้าผู้ใช้บริการอาจใช้บริการของบริษัททัวร์อื่นแทน ทำให้รายได้ของบริษัทลดน้อยลง

อ้างอิง : http://www.school.net.th/library/create-web/10000/technology/10000-5490.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น