วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2554

งานช่างสี

ช่สี

ความหมายของงานช่างสี

งานช่างสี  เป็นงานช่างขั้นสุดท้ายของงานช่างหลายแขนง  เช่น  งานไม้  งานปูน  และงานโลหะ  เพื่อตกแต่งงานที่จัดทำสำเร็จแล้ว  ให้ดูเรียบร้อยสวยงาม  งานช่างสีนอกจากจะทำให้เกิดความสวยงามเรียบร้อยแล้ว  ยังช่วยให้งานแต่ละชิ้นมีความคงทนถาวรยิ่งขึ้น  ยืดอายุ     การใช้งานให้ยาวนานขึ้น  งานช่างสีมีหลักวิธีการ  เครื่องมือเครื่องใช้และวัสดุที่ต้องศึกษา  จึงจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  งานช่างสีเป็นงานที่ทำได้ทั้งชายและหญิง
อ้างอิง :
                                          ประเภทและลักษณะของสี

สีน้ำ   WATER COLOUR 

            สีน้ำ เป็น สีที่ใช้กันมาตั้งแต่โบราณ ทั้งในแถบยุโรป และเอเชีย โดยเฉพาะจีน และญี่ปุ่น
ซึ่งมีความสามารถในการระบายสีน้ำ แต่ในอดีตการระบายสีน้ำมักใช้เพียงสีเดียว คือ สีดำ
ผู้ที่จะระบายได้อย่างสวยงามจะต้องมีทักษะการใช้พู่กันที่สูงมาก การระบายสีน้ำจะใช้น้ำ
เป็นส่วนผสม และทำละลายให้เจือจางในการใช้สีน้ำ ไม่นิยมใช้สีขาวผสมเพื่อให้มีน้ำหนัก
อ่อนลง และไม่นิยมใช้สีดำผสมให้มีน้ำหนักเข้มขึ้น เพราะจะทำให้เกิดน้ำหนักมืดเกินไป
แต่จะใช้สีกลางหรือสีตรงข้ามผสมแทน ลักษณะของภาพวาดสีน้ำ จะมีลักษณะใส บางและ
สะอาด การระบายสีน้ำต้องใช้ความชำนาญสูงเพราะผิดพลาดแล้วจะแก้ไขยากจะระบายซ้ำ ๆ
ทับกันมาก ๆ ไม่ได้จะทำให้ภาพออกมามีสีขุ่นๆ ไม่น่าดู หรือที่เรียกว่า สีเน่า  สีน้ำที่มีจำหน่าย
ในปัจจุบัน จะบรรจุในหลอด เป็นเนื้อสีฝุ่นที่ผสมกับกาวอะราบิค ซึ่งเป็นกาวที่สามารถละลาย
น้ำได้ มีทั้งลักษณะที่โปร่งแสง ( Transparent ) และกึ่งทึบแสง ( Semi-Opaque ) ซึ่งจะมีระบุไว้ข้างหลอด  สีน้ำนิยมระบายบนกระดาษที่มีผิวขรุขระ หยาบ
สีโปสเตอร์ POSTER COLOUR 

         สีโปสเตอร์   เป็นสีชนิดสีฝุ่น (Tempera) ที่ผสมกาวน้ำบรรจุเสร็จเป็นขวด  การใช้งานเหมือน
กับสีน้ำ คือใช้น้ำเป็นตัวผสมให้เจือจาง     สีโปสเตอร์เป็นสีทึบแสง มีเนื้อสีข้น สามารถระบายให้มี เนื้อเรียบได้    และผสมสีขาวให้มีน้ำหนักอ่อนลงได้เหมือนกับสีน้ำมัน  หรือสีอะครีลิคสามารถ ระบายสีทับกันได้  มักใช้ในการวาดภาพ ภาพประกอบเรื่องในงานออกแบบ ต่างๆได้สะดวก ในขวดสีโปสเตอร์มีส่วนผสมของกลีเซอรีน จะทำให้แห้งเร็ว

สีฝุ่  TEMPERA 

    สีฝุ่นเป็นสีเริ่มแรกของมนุษย์ ได้มาจากธรรมชาติ ดิน หิน แร่ธาตุ พืช  สัตว์ นำมาทำให้ละเอียดเป็นผง ผสมกาวและน้ำ กาวทำมาจากหนังสัตว์ กระดูกสัตว์ สำหรับช่างจิตรกรรมไทยใช้ยางมะขวิด หรือกาวกระถิน ซึ่งเป็นตัวช่วยให้สีเกาะติดพื้นผิวหน้าวัตถุไม่หลุดได้โดยง่าย  ในยุโรปนิยมเขียนสีฝุ่น โดยผสมกับกาวยาง กาวน้ำ หรือไข่ขาว สีฝุ่นเป็นสีที่มีลักษณะทึบแสง มีเนื้อสีค่อนข้างหนา เขียนสีทับ กันได้ สีฝุ่นมักใช้ในการเขียนภาพทั่วไปโดยเฉพาะภาพฝาผนังในสมัยหนึ่งนิยมเขียนภาพผาฝนัง ที่เรียกว่า สีปูนเปียก (Fresco) โดยใช้สีฝุ่นเขียนในขณะที่ปูนที่ฉาบผนังยังไม่แห้งดี  เนื้อสีจะซึมเข้าไป ในเนื้อปูนทำให้ภาพไม่หลุดลอกง่าย สีฝุ่นในปัจจุบัน มีลักษณะเป็นผง เมื่อใช้งานนำมาผสมกับน้ำโดย ไม่ต้องผสมกาว เนื่องจากในกระบวนการผลิตได้ทำการผสมมาแล้ว  การใช้งานหมือนกับสีโปสเตอร์

สีอะครีลิค  ACRYLIC  COLOUR 

 สีอะครีลิค  เป็นสีที่มีส่วนผสมของสารพลาสติกโพลีเมอร์ ( Polymer) จำพวก อะครีลิค( Acrylic ) หรือ ไวนิล ( Vinyl ) เป็นสีที่มีการผลิตขึ้นมาใหม่ล่าสุด วลาจะใช้นำมาผสมกับน้ำ  ใช้งานได้เหมือนกับสีน้ำ และสีน้ำมัน มีทั้งแบบโปร่งแสง และทึบแสง แต่จะแห้งเร็วกว่าสีน้ำมัน 1 - 6 ชั่วโมง  เมื่อแห้งแล้วจะมี คุณสมบัติกันน้ำได้และเป็นสีที่ติดแน่นทนนาน  คงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเก็บไว้ได้นาน ๆ ยึดเกาะติดผิวหน้าวัตถุได้ดีเมื่อระบายสีแล้วอาจใช้น้ำยาวานิช  ( Vanish )  เคลือบผิวหน้าเพื่อป้องกันการขูดขีด เพื่อให้คงทนมากยิ่งขึ้น  สีอะครีลิคที่ใช้วาดภาพบรรจุในหลอด  มีราคาค่อนข้างแพง

สีน้ำมั  OIL  COLOUR 

   สีน้ำมัน ผลิตจากการผสมของสีฝุ่นกับน้ำมัน ซึ่งเป็นน้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันลินสีด( Linseed)
ซึ่งกลั่นมาจากต้นแฟลกซ์  หรือน้ำมันจากเมล็ดป๊อบปี้สีน้ำมันเป็นสีทึบแสง เวลาระบายมักใช้สีขาว ผสมให้ได้น้ำหนักอ่อนแก่  งานวาดภาพสีน้ำมัน มักเขียนลงบนผ้าใบ  (Canvas )  มีความคงทนมากและ กันน้ำ ศิลปินรู้จักใช้สีน้ำมันวาดภาพมาหลายร้อยปีแล้ว  การวาดภาพสีน้ำมัน อาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือ เป็นปีก็ได้ เนื่องจากสีน้ำมันแห้งช้ามาก ทำให้ไม่ต้องรีบร้อน สามารถวาดภาพสีน้ำมันที่มีขนาดใหญ่ ๆ และสามารถแก้ไขงาน ด้วยการเขียนทับงานเดิมสีน้ำมันสำหรับเขียนภาพจะบรรจุในหลอด  ซึ่งมีราคา สูงต่ำขึ้นอยู่กับคุณภาพ  การใช้งานจะผสมด้วยน้ำมันลินสีด  ซึ่งจะทำให้เหนียวและเป็นมัน แต่ถ้าใช้ น้ำมันสน จะทำให้แห้งเร็วขึ้นและสีด้าน พู่กันที่ใช้ระบายสีน้ำมันเป็นพู่กันแบนที่มีขนแข็งๆสีน้ำมัน เป็นสีที่ศิลปินส่วนใหญ่นิยมใช้วาดภาพ มาตั้งแต่สมัยเรอเนซองส์ยุคปลาย 

อ้างอิง: http://www.prc.ac.th/newart/webart/colour05.html


ขั้นตอนการทำงานสี

รับออกแบบตกแต่งภายใน           รับออกแบบตกแต่งภายใน 

ขั้นตอนแรกของการเตรียมพื้นผิว เราจะต้องเริ่มกันที่การขัดผิวก่อนนะครับ การขัดผิวนั้นเป็นหัวใจสำคัญของงานทาสีที่มีคุณภาพ เพราะจะช่วยให้พื้นผิวของเราเพิ่มขีดความสามารถในการยึดเกาะสีได้ดี แต่อย่าลืมใส่หน้ากากกรองฝุ่นสักหน่อยนะครับ จะได้ไม่หายใจเอาฝุ่นเข้าไปในปอดสวยๆ ของเรา
นอกจากนี้ บางทีช่างที่มีฝีมือดีๆ เขามักจะล้างผนังกันซะรอบหนึ่งแล้วปล่อยให้แห้งสนิทก่อนลงมือทาสี ซึ่งเหตุผลของการล้างผนังนั้นคือเพื่อล้างฝุ่นที่มักเกาะอยู่ตามผนังให้หลุดออกให้หมดเสียก่อน โดยขั้นตอนของการล้างผนัง ก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไร เพียงแต่ใช้น้ำสบู่อ่อนๆ ล้างผนังให้ทั่ว จากนั้นค่อยล้างด้วยน้ำเปล่าอีกครั้งหนึ่ง แล้วก็รอให้แห้ง (โดยปกติ ก็ประมาณ 1 วัน ดังนั้น เราจึงควรบวกเวลาเตรียมพื้นผิวในระยะเวลาทำงานเผื่อไปด้วยนะครับ)

        
รับออกแบบตกแต่งภายใน

สำหรับผนังหรือเพดานที่มีสีเดิมทาทับอยู่แล้ว ให้ดูว่าสีเก่านั้นหมดอายุหรือยัง หากยังติดแน่นทนทานดีอยู่ เราก็ขัดด้วยกระดาษทรายสักรอบหนึ่ง ก่อนที่จะล้างทำความสะอาด แล้วรอให้ผนังแห้ง แต่ถ้าสีหมดอายุแล้ว งานนี้ คงต้องหาลูกมือมาคอยช่วย เพราะสีเก่าจะเป็นฝุ่น ดังนั้น เราจึงต้องทำการล้างเอาฝุ่นสีเก่านั้น ออกให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แล้วทำการหาสีรองพื้นปูนเก่า Bager B-11090 หรือน้ำยารองพื้นสีปูนทับสีเก่า TOA Supershield Duraclean เป็นต้น เพื่อเพิ่มความสามารถในการยึดเกาะของสี ก่อนที่จะทาสีจริงทับ อันนี้จำเป็นมากๆ เลยนะครับ
ส่วนผนังที่เคยติด Wallpaper มาแล้ว ขั้นตอนก็จำเป็นต้องใช้แรงงานมากขึ้นไปอีก เพราะต้องลอก Wallpaper เก่าพร้อมด้วยคราบกาวทุกชนิดออกให้หมด จากนั้นจึงเริ่มขั้นตอนการเตรียมพื้นผิว ก่อนที่จะลงสีรองพื้นครับผม
ภายหลังจากที่เรารอผนังให้แห้งแล้ว เราก็จะเริ่มทำการทาสีรองพื้นกันซัก 1-2 เที่ยวเสียก่อน โดยผมเคยอธิบายไปแล้วว่าเจ้าสีรองพื้นนี้มีข้อดีอย่างไรบ้าง เพียงแต่เราจะต้องเลือกสีรองพื้นให้ถูกชนิดจะช่วยให้เราประหยัดสีจริงได้มากเลยทีเดียว (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พื้นผิวที่เป็นวัสดุพรุนอย่าง ยิปซั่ม แผ่น MDF หรือแม้กระทั่งแผ่น Viva board หากเราไม่ทาสีรองพื้นสำหรับวัสดุพวกนี้ เราจะต้องจ่ายค่าสีเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 1 เท่าตัวเลยทีเดียวครับ)  ขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นหนึ่งก่อนการลงมือทาสี คือเราควรจะทำการป้องกันส่วนที่เราไม่ต้องการให้ สีเปื้อน ยกตัวอย่างเช่น โคมไฟ บัวพื้น บัวเพดาน หรือกรอบประตูหน้าต่าง ให้มิดชิดด้วยกระดาษกาวและกระดาษหนังสือพิมพ์ และเราควรระวังกระดาษกาวคุณภาพต่ำ หรือเสื่อมคุณภาพ เพราะแทนที่จะช่วยป้องกันสีเลอะ กลับจะดูดสีของส่วนอื่นๆ ให้หลุดออกมา เดือดร้อนเราต้องตามเก็บสีในภายหลังอีก สำหรับกระดาษกาวที่ผมแนะนำ จะเป็นของญี่ปุ่นนะครับ ยี่ห้อนิตโต้ ม้วนหนึ่งตกประมาณ 35 – 40 บาท อาจจะดูแพงไปสักหน่อย (เพราะต้องซื้อหลายม้วน ในกรณีที่มีพื้นที่เยอะๆ) แต่คุ้มกว่ามากครับ และในแนวที่มีการเปลี่ยนสี เช่นสีของผนังกับสีของฝ้าเพดาน เราก็จะสามารถใช้กระดาษกาวกับกระดาษหนังสือพิมพ์ในการกันแนวรอยต่อได้ด้วย พอทาสีฝ้าเพดานเสร็จ เราก็จะกันไม่ให้สีผนังไปเลอะส่วนฝ้าเพดาน พอลอกกระดาษออก รอยต่อก็จะเรียบและคมแบบมืออาชีพเลยครับ..

รับออกแบบตกแต่งภายใน

ต่อไปเป็นขั้นตอนการทาสีจริงละครับ ในการทาสีจริง เราจำเป็นต้องรู้เสียก่อนว่าเราจะทาอะไรบ้าง แล้วจึงจัดลำดับการทาให้ถูกต้อง โดยปกติแล้ว เราจะทาสีฝ้าเพดานก่อนแล้วค่อยทาสีผนัง  จากนั้นถึงจะทาสีส่วนประตูและหน้าต่างพร้อมทั้งส่วนประกอบเล็กๆ น้อยๆ อื่นๆ ครับ ถ้าจะให้จำง่ายๆ คือทาพื้นผิวส่วนใหญ่ที่อยู่ข้างบนก่อน แล้วค่อยไล่ลงมาข้างล่าง จากนั้นจึงเก็บรายละเอียดของงาน
ในการทาสี ถ้าเราต้องการให้สีเรียบเนียนสวย เราจะเริ่มทาจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง
(อันนี้แล้วแต่ถนัดนะครับ) ทีละผนังจนครบทั้งห้อง โดยให้แนวของแปรงขนานกันไปเรื่อยๆ
จนครบเต็มผนัง อย่าหยุดหรือพักทาสีขณะที่อยู่แนวกลางผนัง พยายามทาให้เสร็จไปเป็นผนังๆ ไป เพื่อป้องกันสีแห้งตัวไม่เท่ากัน และอาจจะเกิดอาการสีด่างได้ หลังจากทาสีไปแล้ว ก็ให้รอสีแห้งตัวตามที่ระบุไว้ในคู่มือของสีแต่ละยี่ห้อ โดยการแห้งตัวของสีแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือแห้งแบบแตะได้ กับแห้งแบบทาสีทับได้ การแห้งแบบแตะได้ เป็นการแห้งเฉพาะผิวหน้าเท่านั้น ส่วนการแห้งแบบทาสีทับได้ จะแห้งสนิทกว่า โดยมากแล้วจะกินเวลาประมาณ 4 ชั่วโมงครับ หลังจากนั้น เราจึงจะทาสีทับไปอีกทีละชั้น (ปกติ เราจะทาประมาณ 2-3 เที่ยว) จนกว่าสีจะขึ้นหรือจนกว่าเราจะได้สีที่เรียบเนียนสวย ปิดทับสีเดิมของพื้นผิวได้อย่างสมบูรณ์ ถ้าสียังไม่ขึ้น แสดงว่าเราอาจจะทาสีบางเกินไป หรือผสมตัวทำละลายมากเกินไปก็ได้ ให้ลองตรวจดูส่วนผสมใหม่อีกครั้งนะครับ

           รับออกแบบตกแต่งภายใน

ภายหลังจากที่สีแห้งแล้ว สีจะดูขาวขึ้นกว่าตอนที่ทาเสร็จใหม่ๆ ที่เป็นแบบนี้ เป็นเพราะน้ำหรือสารละลายในสีได้ระเหยออกไป ซึ่งสีสุดท้ายที่ได้ตอนที่แห้งแล้ว ควรจะตรงกับสีที่เราเลือกไว้นะครับ เพราะฉนั้นอย่าตกใจที่เวลาทาสีแล้ว สีจะดูเข้มกว่าที่เราเลือก เพราะสุดท้าย มันจะกลับมาเป็นอย่างที่เราต้องการครับ
หากเราทาสีไม่เสร็จ และต้องทำต่อในวันถัดไป ให้เราเก็บสีที่เหลือไว้ในกระป๋อง ปิดฝาให้สนิท ไม่ให้อากาศภายนอกเข้าไปได้อีก และทางที่ดีควรจะกลับกระป๋องคว่ำลงสัก 2-3 วินาที เพื่อให้สีบางส่วนไปเคลือบที่ฝา จะช่วยแก้ปัญหาสีแห้งตัวเป็นแผ่นฟิลม์ได้ครับ..แน่ะ..เคล็ดลับเชียวนะครับนี่..
วิธีการเทสีทิ้งให้ถูกต้อง คือเราต้องเตรียมถังใบใหญ่ พร้อมทั้งถุงขยะหนาๆ (อาจจะซ้อนสัก 2-3 ชั้นก็ได้) จากนั้น ให้ช่างเทสีส่วนที่เหลือลงในถุง ปล่อยไว้ให้แห้ง (ประมาณ 2-3 วัน) จึงค่อยมัดปากถุง แล้วค่อยนำไปทิ้งภายหลังครับ ซึ่งวิธีนี้ สามารถใช้ได้กับงานปูน งานยิปซั่ม และงานสีชนิดต่างๆ
รับออกแบบตกแต่งภายใน 

ในการใช้ลูกกลิ้งทาสี เราจะต้องใช้ร่วมกับ ถาดสีซึ่งมีหน้าตาตามรูปนะครับ แล้วเราก็จะเทสีลงไปประมาณ 1 ใน 3 ของเจ้าถาดนี่แหละ ค่อยๆ ใช้ 

รับออกแบบตกแต่งภายใน 

ลูกกลิ้งจุ่มลงไปในถาดแล้วหมุนจนสีติดเต็มลูกกลิ้งให้ทั่วแต่อย่าให้สีมากเกินไป มิฉะนั้น พอทาเสร็จ  เราจะเห็นสีไหลย้อยเป็นแนว (แบบนั้น ต้องกลับไปที่ขั้นตอนการขัดพื้นผิวใหม่นะครับ) แล้วเวลาทาสีด้วยลูกกลิ้ง พอใกล้จะหมด เราจะนำลูกกลิ้งลงจุ่มสีใหม่ และเริ่มทาต่อที่บริเวณที่ยังไม่ลงสี แล้วค่อยๆ ทาเกลี่ยกลับมาที่แนวที่ทำค้างไว้ โดยเหตุผลที่ต้องทำเช่นนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้สีหนาเกินไปบริเวณรอยต่อ

                                           รับออกแบบตกแต่งภายใน
      โดยมากแล้ว การทาสีด้วยลูกกลิ้งจะให้สีที่บางกว่าการใช้แปรง ดังนั้น เราอาจจะต้องทาสีมากครั้งขึ้นกว่าการใช้แปรง เพื่อให้สี ขึ้นก็ได้ เพราะฉนั้น อย่าเพิ่งตกใจนะครับ และการทาสีที่บาง แต่มากเที่ยวกว่า จะให้สีที่เรียบเนียนสวยกว่า การทาสีที่หนาเพียงไม่กี่เที่ยวครับ

 
 
 
สุดท้ายสำหรับการทาสีนะครับ เมื่อทาสีเสร็จแล้ว ให้รอให้สีแห้งสนิทเสียก่อนที่จะทำการตกแต่งในขั้นตอนอื่นๆ ต่อไป (ถ้ามี) โดยมากแล้วสีน้ำพลาสติก มักจะใช้เวลาแห้งตัวประมาณ 24 ชั่วโมงครับ


การใช้งานอุปกรณ์งานช่างสี


                                              
                                                                            1.ถาดสี

                                                          
                                                                         2. ลูกกลิ้งทาสี

                        

                                                     3.สีทาบ้าน มี ทาภายนอก และทาภายใน

                                                            

                                                                    4. แปรงทาสี

                                                                         

การดูแลรักษาเครื่องมืองานช่างสี

การล้างแปรงทาสีเมื่อใช้เสร็จแล้ว
                                            

ถ้าคุณนำแปรงทาสีไปใช้กับสีน้ำมัน ก็ให้นำแปรงไปล้างด้วยทินเนอร์ หรือน้ำมันสน แล้วสบัดให้แห้ง จากนั้นให้ผสมน้ำยาปรับผ้านุ่มกับน้ำสะอาด ในอัตราส่วนที่พอๆ กัน เพียงเล็กน้อย แล้วชโลมขนแปรงทาสีบ้านให้ทั่ว แล้วเก็บแปรงทาสีไว้ในถุงอย่าให้ปลายแปรงงอ  ถ้าคุณนำแปรงทาสีไปใช้กับสีน้ำ ก็ให้นำแปรงไปล้างด้วยน้ำให้สะอาด แล้วทำการเก็บเช่นเดียวกัน 

            ส่วนลูกกลิ้งที่ใช้ทาสีกับงานที่มีพื้นที่ใหญ่ การทำความสะอาดก็ให้ใช้วิธีเดียวกันกับการใช้แปรงทาสีบ้าน Homebaan ก็ใช้วิธีนี้ในการดูแลรักษาแปรงกับลูกกลิ้งเช่นเดียวกัน และยังนำกลับมาใช้ได้อย่างสะดวกสบายเหมือนเช่นทุกครั้ง ไม่ต้องเสียเวลาวิ่งออกไปชื้อแปรงทุกครั้งเมื่อต้องการใช้ "เพราะเมื่อคุณใช้เป็น คุณก็ต้องดูแลเป็นด้วยนะ"

ความปลอดภัยในการทำงานช่าง

อุบัติเหตุ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยที่เราไม่คาดคิดมาก่อน สร้างความเสียหายในหลาย ๆด้าน เป็นเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งเราสามารถป้องกันได้ หากเราใช้ความระมัดระวัง ไม่ประมาท และมีมาตรการป้องกันอย่างถูกวิธี

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ สรุปได้ดังนี้
1. เกิดจากตัวบุคคล คือเกิดจากตัวเราเองประมาท สุขภาพร่างกายไม่ดีพร้อมที่จะปฏิบัติงาน หรือไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆดีพอ ฯลฯ
2. เกิดจากเครื่องมือชำรุด เครื่องมือมีสภาพไม่พร้อมที่จะใช้งาน มีคุณภาพต่ำ ฯลฯ
3. เกิดจากระบบการทำงาน อาคารสถานที่ การวางแผนขั้นตอนการปฏิบัติงานไม่ดี พอ หรือแสงสว่างไม่เพียงพอ อากาศไม่ถ่ายเท อุณหภูมิสูงเกินไป ฯลฯ

ผลกระทบจากการเกิดอุบัติเหตุ
1. สร้างความสูญเสียต่อทรัพย์สิน เช่น รถยนต์ชนกัน สร้างความเสียหายคือ รถยนต์พัง หรือสูญเสียทรัพย์สินจ่ายเงินชดเชยค่าเสียหายให้แก่ผู้อื่น
2. ร่างกายได้รับบาดเจ็บ สูญเสียอวัยวะ หรือหากรุนแรงอาจสูญเสียชีวิตในที่สุด
3. สร้างความเสื่อมเสียชื่อเสียง การยอมรับในทางธุรกิจ เช่น บริษัทรถทัวร์ใดมักเกิดอุบัติเหตุบ่อย ๆ ลูกค้าผู้ใช้บริการอาจใช้บริการของบริษัททัวร์อื่นแทน ทำให้รายได้ของบริษัทลดน้อยลง


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น